เมนู

ทวีป ๆ มีทวีปเล็ก ๆ เป็นบริวาร ทวีปละห้าร้อย ๆ จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าโลกธาตุหนึ่ง ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก.
แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้
แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
พระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง
แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบนว่า อนุตฺตโร]


บทว่า อนุตฺตโร ความว่า บุคคลผู้ยิ่งกว่า ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่น เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะดีวิเศษกว่าพระองค์
โดยคุณของตน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนตฺตโร (ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า). จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมครอบงำโลก
ทั้งหมด ด้วยพระคุณคือศีลบ้าง ด้วยพระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ
วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่นไม่มีผู้เสมอ หาผู้เสมอ
เหมือนมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีผู้เปรียบเทียบหาบุคคลผู้ทัดเทียมมิได้ ด้วย
พระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรายังไม่เล็งเห็นสมณะ
หรือพราหมณ์คนอื่นเลย ผู้จะสมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเรา ในโลกกับทั้งเทวดา
มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์และเทวดา มนุษย์.1
ควรทราบความพิสดาร (แห่งพระสูตรนั้น). พระสูตรทั้งหลายมีอัคคัปปสาทสูตร
เป็นต้น และคาถามีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มี2 ดังนี้ ก็ควรให้พิสดาร
ตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น.
1. สํ. ส. 15/204. 2. ม.มู. 12/329.

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ]


พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ยังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป. มีอธิบายไว้ว่า
ย่อมฝึก คือแนะนำ. สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี มนุษย์ผู้ชายก็ดี อมนุษย์ผู้ชายก็ดี
ผู้ที่ยังมิได้ฝึก ควรเพื่อจะฝึกได้ ชื่อว่า ปุริสทัมมา ในคำว่า ปุริสทมฺมสารถิ
นั้น. จริงอย่างนั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ มีอาทิอย่างนี้ คือ อปลาลนาคราช
จุโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช อาลวาฬ
นาคราช (และ) ช้างชื่อธนบาลก์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรง
ทำให้สิ้นพยศแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย. แม้มนุษย์ผู้ชายมีสัจจก-
นิครณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์
และกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว. แม้อมนุษย์
ผู้ชาย มีอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลกยักษ์ และท้าวสักกเทวราชเป็นต้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้ว คือทรงแนะนำแล้ว ด้วยอุบายเครื่องแนะนำ
อย่างวิจิตร. ก็แลในอรรถนี้ควรยังพระสูตรนี้ให้พิสดารดังนี้ ดุก่อนนายเกสี !
เราย่อมฝึกบุรุษผู้พอจะฝึกได้ ด้วยอุบายละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ทั้งละเอียด
ทั้งหยาบบ้าง.*
อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า อนตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ นี้รวมเป็น
อรรถบทเดียวกันก็ได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังบุรุษ ผู้ควรจะฝึก
ได้ให้แล่นไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียว
เท่านั้น ทรงเล่นไปได้ไม่ติดขัดตลอดทิศทั้ง 8 ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า บัณฑิตจึงเรียกว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ ( เป็นสารถีผู้ฝึก
* องฺ . จตุกฺก. 21/181.